2554-02-17

เวทีการประชุมโลกร้อน cop 16

เมื่อเวทีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 16 หรือ Cop-16 ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย. -10 ธ.ค. จบลง ทุกอย่างก็เหมือนเดิม ขณะ เดียวกันประเทศหมู่เกาะก็พยายามขอร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วช่วยเซ็นกันที่เถอะ พวกเขาจะไม่รอดกันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยได้รับการเห็นใจแต่อย่างใด
หาก ย้อนกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับเวทีเหล่านี้ ย้อนไปเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ก็มีการประชุมสหประชาชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเพื่อ เตรียมการก่อนที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน ผลสรุปคือ ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด นั่นคือเนื่องจาก จีน-สหรัฐฯ สองชาติมหาอำนาจ ผู้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรายใหญ่อันดับ 1 และ 2 ไม่สามารถตกลงกันได้

สำหรับเวทีการประชุมโลกร้อนในรอบนี้ที่ประเทศเม็กซิโก แม้จะประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้สมาชิกทั้ง 195 ชาติ สามารถบรรลุข้อตกลงใดข้อตกลงหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เหมือนกับเวทีโลกร้อนครั้งที่ 15 ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งในครั้งนั้นเป็นความล้มเหลวอย่างมากในการเจรจาในรอบ 3 ปี หลังจากการรับรองบาหลีโรดแมพ ที่เคยตั้งเป้าหมายให้เกิดข้อสรุปในเรื่องตัวเลขการลดก๊าซเรือนกระจก ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากพันธกรณีแรก ภายใต้พิธีสารเกียวโตที่จะสิ้นสุดลงในปี 2555 นี้
ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมประชุมอยากเห็นการขยับไปจนถึงการมีเป้าหมายการเจรจาหลัก เพื่อกำหนดพันธกรณีช่วงที่ 2 สำหรับ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งต้องเริ่มลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง รวมทั้งการเจรจาจัดทำความร่วมมือระยะยาว ภายใต้อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัญหา อยู่ที่ผู้มีบทบาทหลักคือ สหรัฐและจีน สองประเทศนี้ต่างขาดความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน โดยประเด็นโลกร้อนถูกเบี่ยงไปที่การเกี่ยงความรับผิดชอบกันของประเทศร่ำรวย กับประเทศยากจนกำลังพัฒนา ทั้งนี้บทบาทเหล่านั้นมีอาทิ ข้อกำหนดลดปริมาณก๊าซคาร์บอน สนับสนุนการเงิน ถ่ายโอนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม และการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ระยะยาว ซึ่งต่างฝ่ายต่างยังคงสงวนท่าทีที่จะต้องตัดสินใจร่วมกัน

จากปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างเอาผลประโยชน์เฉพาะของตนเองเป็นที่ตั้ง ยิ่งทำให้ทางออกของข้อตกลงร่วมกัน กลายเป็นทางตัน กล่าวคือ ปัญหาการลดก๊าซเรือนกระจกและการร่วมรับผิดชอบในการลด ซึ่งมีเป้าหมายระดับโลกภายใต้การควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ตามข้อเสนอทางวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ระบุให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดการปล่อยก๊าซ 25-40% จากระดับการปล่อย จากปี 2537 ให้ได้ภายในปี 2563 ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ต้องลดการปล่อยก๊าซ 15-30% จากระดับปกติ แต่ในการเจรจารอบที่ผ่านมาก็ ไม่มีข้อยุติ เพราะแต่ละกลุ่มประเทศมีความต้องการและมีผลประโยชน์ต่างกันนั่นเอง

อย่าง ไรก็ตาม ประเทศจีนเริ่มที่จะมีบทบาทนำมากขึ้นในการจัดการปัญหาก๊าซเรือนกระจกใน ประเทศของตน เพื่อให้เป็นตัวอย่างของประเทศยากจนและพัฒนาแล้ว โดยจีนประกาศว่าภายในสิ้นปี 2553 ประเทศ จีน ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากสุดในโลก กำลังเขยิบเข้าใกล้การบรรลุเป้าที่รัฐบาลได้เคยประกาศไว้ว่าจะลดการบริโภค พลังงานลง 20 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2549 - 2553 โดยภายใต้มาตรการนี้ จะทำให้จีนสามารถเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 1,500 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนได้ลงทุนประมาณ 2 ล้านล้านหยวน (3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในโครงการประหยัดพลังงานและโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และในเดือนพฤศจิกายน 2552 จีนได้ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อหน่วยของจีดีพี ที่ประมาณ 40 ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ จากปี พ.ศ. 2548 ให้ได้ก่อนปี พ.ศ. 2563 อีกด้วย

สำหรับ ทิศทางแผนการพัฒนาในอนาคตของจีนมีการตั้งเป้าควบคุมความเข้มข้นของปริมาณ ก๊าซคาร์บอน การบริโภคพลังงานใหม่ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ และการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในช่วง 5 ปี ต่อจากนี้ ขณะที่ภาษีคาร์บอนยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณา และจะมีการเร่งการใช้แผนการค้าคาร์บอนฉบับนำร่อง ทั้งนี้ ในแผนพัฒนา 5 ปี
(2554 ถึง 2558 ) ฉบับที่ 12 ประเทศจีนจะพึ่งกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในช่วงเวลาดังกล่าว
ครั้ง นี้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมออกมาสนับสนุนท่าทีของจีนในเวทีเจรจาแก้ไขปัญหา โลกร้อน เมื่อเห็นจีนอัดสหรัฐฯ และกลุ่มชาติร่ำรวยว่า พยายามกำหนดเพดานลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสำหรับชาติกำลังพัฒนา แต่ตัวเองกลับขาดความตั้งใจที่จะบรรลุสนธิสัญญาซึ่งมีผลผูกมัด ทั้ง ๆ ที่สหรัฐฯ ยังคงปล่อยมลพิษในอากาศโดยเฉลี่ยสูงกว่าประชาชนในจีนราว 4 เท่า กล่าวคือ 19.2 ตันต่อ 4.9 ตันต่อหัวประชากรในปี 2551
ล่า สุดมีข่าวออกมาให้เป็นความหวังว่า สหรัฐฯและจีนสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ซึ่งทั้งสองประเทศจะให้ความร่วมมือในการกำหนดนโยบายและข้อปฏิบัติร่วมกันต่อ ไป ขณะที่องค์การสหประชาชาติก็ผลักดันการพัฒนากองทุนสีเขียว หรือ กรีนฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนที่จะระดมเงินช่วยเหลือไปให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อนำไปใช้ในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และโครงการที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็หวังว่าผลสำเร็จของการประชุมจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ได้รับผล กระทบกันทั่วหน้าทุกประเทศได้

สำหรับท่าที่ประเทศไทยที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยไทยมีจุดยืนเช่นเดิม คือสนับสนุนการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารเกียวโต ให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดก๊าซเรือนกระจก ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยจะยังคงรอดูท่าที และต้องการลดก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัด แม้ว่าจะมีข้อเสนอให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องร่วมลดก๊าซอย่างน้อย 15-40% ในอีก 10 ปี หรือ พ.ศ. 2563 แต่ จะไม่กำหนดตัวเลขดังกล่าวในกรอบเจรจา เพื่อไม่ให้เป็นข้อผูกมัด และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ป้องกันไม่ให้ประเทศพัฒนาแล้วผลักภาระความรับผิดชอบในการลดก๊าซ โดยเฉพาะเรื่องการนำเรื่องก๊าซจากภาคการเกษตรเข้ามาพิจารณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น